Please use this identifier to cite or link to this item: https://kkbsrs.kku.ac.th/jspui/handle/123456789/310
Title: แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนไทดำ บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
Other Titles: SUSTAINABLE COMMUNITY-BASED TOURISM DEVELOPMENT GUIDELINE: A CASE STUDY OF TAI DAM COMMUNITY AT BAN NA PA NARD, CHIANG KHAN DISTRICT, LOEI PROVINCE
Authors: เมษ์ธาวิน, พลโยธี
สุธาธิณี, หนูเนียม
สุวิชาดา, สกุลวานิชเจริญ
Author's Skill: การจัดการการท่องเที่ยว
Author's Email: maytpo@kku.ac.th
Subjects: ชุมชนไทดำ
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
Fiscal Year: 2022
Publisher: International Thai Tourism Journal (JITT)
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2) ศึกษาศักยภาพด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชุมชนไทดำ บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณเป็นประชาชนในพื้นที่ชุมชน จำนวน 171 คน และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพผู้มีบทบาทสำคัญในชุมชนหรือผู้สืบทอดภูมิปัญญา ผลวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของชุมชนมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวครบครัน สถานที่ท่องเที่ยวมีเอกลักษณ์และโดดเด่น เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม และมีสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ โดยศักยภาพที่โดดเด่นของชุมชน ได้แก่ ศักยภาพด้านสิ่งดึงดูดใจ ชุมชนมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นของวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งเดียวในภาคอีสาน อย่างไรก็ตามแนวทางการพัฒนาที่ชุมชนควรพัฒนามีหลายองค์ประกอบ เช่น ด้านการบริหารจัดการ ควรพัฒนาการกระจายรายได้ของคนในชุมชน พัฒนาด้านข้อมูลข่าวสารในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศในการเข้าถึงข้อมูลการท่องเที่ยวของชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้ข้อมูลข่าวสารแก่นักท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก พัฒนาการบริการนักท่องเที่ยวทั้งด้านร้านอาหาร ร้านค้า ร้านขายของที่ระลึก รวมไปถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ชุมชนควรพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเที่ยวให้หลากหลายและน่าสนใจ สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ที่สามารถสะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชน นอกจากนี้ชุมชนควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมวางแผนการบริหารจัดการการท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์ของตนเอง และชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความช่วยเหลือในการวางแผนและการดำเนิน กิจกรรมการท่องเที่ยว ส่งเสริมชุมชนให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงานได้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว
URI: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/254270
URI: https://kkbsrs.kku.ac.th/jspui/handle/123456789/310
ISSN: 2730-3942
Appears in Collections:Tourism



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.