Please use this identifier to cite or link to this item: https://kkbsrs.kku.ac.th/jspui/handle/123456789/307
Title: โครงสร้างหลักสูตร รูปแบบการจัดการเรียนการสอน และแนวทางการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรบัญชีบัณฑิตตามความต้องการของตลาด
Other Titles: Curriculum Structure, Format Learning, and Guidelines of Accountancy Program according to Accountancy Market
Authors: อนุรักษ์, ทองสุโขวงศ์
เยาวนุช, รักสงฆ์
ชื่นจิตร, อังวราวงศ์
ปาริชาต, บุตรวงค์
Author's Skill: การบัญชี
Author's Email: anuton@kku.ac.th
Subjects: หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
โครงสร้างหลักสูตร
รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
แนวทางการจัดการเรียนการสอน
Fiscal Year: 2021
Publisher: Faculty of Business Administration and Accountancy, Khon Kaen University
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มุ่งสารวจโครงสร้างหลักสูตร รูปแบบการจัดการเรียนการสอน และแนวทางการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรบัญชีบัณฑิตตามความต้องการของตลาดอันประกอบด้วยผู้ใช้บัณฑิต บัณฑิต และนักศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผู้ตอบสามารถตอบได้ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือผู้ใช้บัณฑิต บัณฑิต และนักศึกษาเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ณ ระดับความเชื่อมั่น 95% จากการกาหนดตัวอย่างของ Taro Yamane ได้ตัวอย่างรวมจานวน 756 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้คือการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test ผลการวิจัยพบว่าโครงสร้างหลักสูตรมุ่งเน้นจุดเด่นด้านการวิเคราะห์ข้อมูล โดยจัดโครงสร้างตามจาหนวนหน่วยกิจ ซึ่งหมวดวิชาเฉพาะที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คือ 72.23 หน่วยกิจ ส่วนหมวดอื่นมีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ประกอบด้วยหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 26.45 หน่วยกิจ หมวดวิชาเลือกเสรี 5.94 หน่วยกิจ และวิชาตามวัตถุประสงค์และอัตลักษณ์ของสถาบันฯ 10.22 หน่วยกิจ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้จัดเป็นการเรียนในชั้นเรียน 3 ปี 1 ภาคการศึกษา และทางานจริง/รายวิชาสหกิจ 1 ภาคการศึกษามากที่สุด (ร้อยละ 64.62) โดยจัดรูปแบบการเรียนรู้เป็นกลุ่มวิชาชีพ มีความเหมาะสมมากที่สุด (ร้อยละ 63.57) โดยมีแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการสอนแบบเน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยการเรียนเป็นกระบวนการกลุ่ม และการมุ่งเน้นการเรียนเป็นรายบุคคล (ร้อยละ 18.08 และร้อยละ18.00) ทั้งนี้กลยุทธ์การสอนที่เหมาะสมกับชั้นปีที่ 1และ 2 คือ การสอนแบบบรรยาย และฝึกทาแบบฝึกปฏิบัติ/แบบฝึกหัด ส่วนชั้นปีที่ 3 และ 4 มุ่งเน้นการเรียนเป็นกระบวนการกลุ่ม และกิจกรรมเสริมหลักสูตรทุกกิจกรรมเหมาะสมกับกับทุกชั้นปี (มากกว่าร้อยละ 90) โดยเฉพาะกิจกรรมเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีขั้นสูง เหมาะสมกับชั้นปีที่ 4 มากที่สุด (ร้อยละ 100) ยกเว้น ทักษะความเป็นผู้นา และการจัดการตนเอง เหมาะสมกับชั้นปีที่ 4 น้อยที่สุด (ร้อยละ 68.13)
Project: ทุนสนับสนุนการวิจัยปีงบประมาณ 2564
Fund: คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
URI: https://kkbsrs.kku.ac.th/jspui/handle/123456789/307
Appears in Collections:Accounting



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.