Please use this identifier to cite or link to this item: https://kkbsrs.kku.ac.th/jspui/handle/123456789/236
Title: แนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวพื้นที่ชุมชนเลี้ยงช้าง ตำบลบ้านค่าย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ สู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
Other Titles: Guidelines for the Development of Tourism Activities in Elephant Community, Ban Khai Sub-District, Muang District, Chaiyaphum Province to Sustainable Tourism
Authors: พิรพิมพ์, ทั่งพรม
ศุภวัตร, มีพร้อม
Author's Skill: การจัดการธุรกิจบริการและการจัดงาน
Author's Email: supame@kku.ac.th
Subjects: แนวทางการพัฒนา
กิจกรรมการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ชุมชนเลี้ยงช้างบ้านค่าย
Fiscal Year: 2021
Publisher: Journal of Management Science Research, Surindra Rajabhat University
Abstract: การศึกษาเรื่อง “แนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว พื้นที่ชุมชนเลี้ยงช้าง ตำบลบ้านค่าย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ สู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทพื้นที่ด้านการท่องเที่ยวชุมชนเลี้ยงช้าง 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่ชุมชนเลี้ยงช้าง และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว พื้นที่ชุมชนเลี้ยงช้าง สู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระดับความต้องการรูปแบบกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต้องการใช้บริการ ทั้งหมด 385 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้นำชุมชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 25 คน ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่ต้องการให้มีกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และนักท่องเที่ยวชอบที่จะมีประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบการสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนท้องถิ่นอย่างแท้จริง จำนวน 211 คน คิดเป็นร้อยละ 54.81 จากทั้งหมด และปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการต้องการรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่ชุมชนเลี้ยงช้าง ตำบลบ้านค่าย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ มากที่สุดได้แก่ ปัจจัยด้านประสบการณ์กิจกรรมด้านความบันเทิง (gif.latex?\bar{x} = 2.93, S.D.= 0.84) และปัจจัยด้านคุณค่าทางด้านเงื่อนไข ( gif.latex?\bar{x}= 2.86, S.D.= 0.83) และชุมชนมีศักยภาพบริบทพื้นที่ที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก มีความดั้งเดิมในภูมิปัญญาและวิถีชีวิต ทั้งนี้ ชุมชนยังได้รับการสนับสนุนจากทั้งทางหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในการส่งเสริมและผลักดันให้ชุมชนเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการสอบถามความต้องการกิจกรรมทางการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังพื้นที่ชุมชนมีความสอดคล้องกันกับความต้องการของทางผู้นำชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน จึงเกิดเป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว 3 แนวทาง ดังนี้ 1) การอนุรักษ์โดยใช้ทรัพยากรอย่างพอดี 2) รักษาและส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรม 3) นำการท่องเที่ยวขยายฐานเศรษฐกิจในท้องถิ่น
URI: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/247784
URI: https://kkbsrs.kku.ac.th/jspui/handle/123456789/236
Appears in Collections:Hospitality and Event



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.