Please use this identifier to cite or link to this item: https://kkbsrs.kku.ac.th/jspui/handle/123456789/197
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธีรเมธ, คงสงค์-
dc.contributor.authorจินณพัษ, ปทุมพร-
dc.date.accessioned2021-11-01T07:30:52Z-
dc.date.available2021-11-01T07:30:52Z-
dc.date.issued2020-
dc.identifier.urihttps://kkbsrs.kku.ac.th/jspui/handle/123456789/197-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (2) ศึกษาผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (3) ศึกษาวงจรชีวิตของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านเซินเหนือ โดยการงานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษางานวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณจากการแจกแบบสอบถามนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเซินเหนือของกลุ่มชุมชนท้องถิ่น อยู่ในระดับสูงในส่วนของความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนตั้งแต่เริ่มต้น โดยเป็นผู้มองเห็นศักยภาพของหมู่บ้านเซินเหนือในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน เริ่มจากการเข้ามาในชุมชนเพื่อสอบถามและลงมติในการเริ่มการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมีการให้การสนับสนุนในด้านของงบประมาณ การแต่งตั้งกรรมการกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทำป้ายบอกทาง การปรับภูมิทัศน์ภายในชุมชน และให้ความช่วยเหลือในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเซินเหนือ ในด้านของผลกระทบทางการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านเซินเหนือมีผลกระทบทางบวกในด้านของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในระดับสูง แต่มีการลงทุนทางธุรกิจการท่องเที่ยวอยู่ในระดับน้อย ในส่วนของผลกระทบทางลบของการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเซินเหนือมีเล็กน้อยในส่วนย่อยของหัวข้อด้านสังคม คือปัญหาระหว่างคนในชุมชน ซึ่งโดยสรุปแล้วในส่วนของวงจรชีวิตของแหล่งท่องเที่ยวบ้านเซินเหนือด้านการมีส่วนร่วมยังอยู่ในจุดที่กำลังพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยยึดถือเอกลักษณ์วัฒนธรรมชาวไทภูชุมชนเป็นสำคัญ และการที่จะทำให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเซินเหนือเกิดความยั่งยืนได้ จะต้องมีการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างทั่วถึง และร่วมมือกันระหว่างผู้นำชุมชนและเจ้าอาวาสวัดเฉลียงทอง เพิ่มมากยิ่งขึ้น จะสามารถพัฒนาจุดอ่อนของชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเซินเหนือen_US
dc.description.urihttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/kkbsjournal/article/view/223176en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherKKBS Journal of Business Administration and Accountancyen_US
dc.subjectการบริหารจัดการen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวโดยชุมชนen_US
dc.titleการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา : ชุมชนบ้านเซินเหนือ ตำบลโนนคอม อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่นen_US
dc.title.alternativeSustainable Community Based Tourism Management : A Case Study of Ban Suennuea Bannonkom, Phuphaman, Khon Kaen Provinceen_US
dc.typeArticleen_US
dc.email.authorpthewe@kku.ac.then_US
dc.skill.authorการจัดการการท่องเที่ยวen_US
Appears in Collections:Tourism



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.