Please use this identifier to cite or link to this item:
https://kkbsrs.kku.ac.th/jspui/handle/123456789/194
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อรุณี, ฮามคำไพ | - |
dc.contributor.author | ศิริรักษ์, ขาวไชยมหา | - |
dc.contributor.author | เพ็ญศรี, เจริญวานิช | - |
dc.date.accessioned | 2021-11-01T04:41:24Z | - |
dc.date.available | 2021-11-01T04:41:24Z | - |
dc.date.issued | 2020 | - |
dc.identifier.uri | https://kkbsrs.kku.ac.th/jspui/handle/123456789/194 | - |
dc.description.abstract | การท่องเที่ยวเชิงกีฬา เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนทั้งด้านสุขภาพ การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยเฉพาะกิจกรรมวิ่งมาราธอนนานาชาติในประเทศไทยที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จ และศักยภาพ และ 2) สร้างแบบจำลอง ซึ่งพัฒนาจากแบบจำลองประเภทของการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Weed, M. and Bull, C., 2004) และแบบจำลองพฤติกรรมการบริโภคกีฬาแบบต่อเนื่อง (Funk, 2009) และทดสอบแบบจำลอง โดยศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้านคุณลักษณะนักวิ่ง และการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ที่ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายโดยรวม ความตั้งใจกลับมาเข้าร่วมกิจกรรม และแนะนำกิจกรรม รวมถึงผลกระทบเชิงกำกับของปัจจัยความผูกพันในการออกกำลังกาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผู้จัด ผู้สนับสนุน และนักวิ่ง จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 41 คน และการเก็บแบบสอบถามจำนวน 810 คน ผลการศึกษาโดยการวิเคราะห์ตารางไขว้และความแปรปรวน พบว่า ปัจจัยความสำเร็จ คือ นโยบายของจังหวัด ที่สะท้อนความชัดเจนของวัตถุประสงค์และทิศทางการจัดการ และกิจกรรมสามารถพัฒนาเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงกีฬาระดับนานาชาติในอนาคต จากปัจจัยกระแสการออกกำลังกาย และคุณภาพของการจัดกิจกรรม ร่วมกับการพัฒนาการจัดการด้านการท่องเที่ยว สำหรับผลการศึกษาแบบจำลองโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงชั้น และโลจิสติคเชิงชั้น พบว่า นักวิ่งจะมีการใช้จ่ายในพื้นที่เพิ่มขึ้น จากการจัดการจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว โดยจะกลับมาร่วมกิจกรรมซ้ำและแนะนำต่อ จากการจัดการกิจกรรมและการประชาสัมพันธ์ตามลำดับ ทั้งนี้ คุณลักษณะของนักวิ่งที่มีการใช้จ่ายสูงที่สุด คือชาวต่างชาติวัยทำงานที่รักสุขภาพ และมีความผูกพันในการออกกำลังกาย | en_US |
dc.description.uri | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jar/article/view/245244 | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Journal of the Association of Researchers | en_US |
dc.subject | การท่องเทียวเชิงกีฬา | en_US |
dc.subject | การจัดการจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว | en_US |
dc.subject | แบบจำลองการจัดการ | en_US |
dc.subject | การจัดการกิจกรรมกีฬา | en_US |
dc.title | แบบจำลองการจัดการจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวเชิงกีฬา: กรณีศึกษากิจกรรมขอนแก่นมาราธอนนานาชาติ | en_US |
dc.title.alternative | Sports Tourism Destination Management Model: Khon Kaen International Marathon Case Study | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.email.author | penjar@kku.ac.th | en_US |
dc.skill.author | การตลาด | en_US |
Appears in Collections: | Marketing |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sports Tourism Destination Management Model Khon Kaen International Marathon Case Study.pdf | 506.49 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.