Please use this identifier to cite or link to this item: https://kkbsrs.kku.ac.th/jspui/handle/123456789/255
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอาทิยา, ทรัพย์พอกพูล-
dc.date.accessioned2021-12-24T08:05:18Z-
dc.date.available2021-12-24T08:05:18Z-
dc.date.issued2018-
dc.identifier.urihttps://kkbsrs.kku.ac.th/jspui/handle/123456789/255-
dc.description.abstractการวิจัย แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของผู้ช่วยสอนสู่มาตรฐานวิชาชีพด้านการโรงแรมมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลความคาดหวังก่อนเรียนและความพึงพอใจหลังเรียนของนักศึกษาต่อการเรียนภาคปฏิบัติ วิชาเอกการจัดการธุรกิจบริการและการจัดงาน และเพื่อกำหนดแนวทางในการปรับปรุง และการพัฒนาเทคนิคการเรียนการสอนภาคปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดำเนินการวิจัยโดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาคปฏิบัติซึ่งเป็นรายวิชาบังคับจำนวน 2 รายวิชา ได้แก่ รายวิชา 965 115 การดำเนินงานและบริการอาหารและเครื่องดื่มสำหรับการโรงแรมและอีเว้นท์ จำนวน 72 คน และรายวิชา 965 114 การปฏิบัติการแผนกห้องพัก จำนวน 72 คน รวมทั้งหมด 144 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ การสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยทำการสัมภาษณ์นักศึกษาจำนวน 10 คน และการทำแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการศึกษาเอกสาร ตามความเห็นชอบของ ที่ปรึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยจากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) พบว่านักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาคปฏิบัติซึ่งเป็นรายวิชาบังคับจำนวน 2 รายวิชานั้นนักศึกษาวิชาเอกการจัดการธุรกิจบริการและการจัดงานอยากให้ขยายเวลาเรียนภาคปฏิบัติหรือเพิ่มจำนวนกลุ่มเรียนให้มากขึ้นเพื่อให้นักศึกษาทุกคนได้เรียนทั่วถึงกันทุกคนและจะได้ไม่ต้องมีการแย่งอุปกรณ์การเรียนกันและอยากให้เพิ่มผู้ช่วยสอนขึ้นมาอีก 1 คน หากขยายเวลาเรียนไม่ได้อยากให้ผู้ช่วยสอนซื้ออุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนเพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา และอยากให้ผู้ช่วยสอนเพิ่มความรวดเร็วในสอนการเพื่อให้ทันเวลาในคาบเรียน ผลการวิจัยจากการตอบแบบสอบถามพบว่านักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาคปฏิบัติซึ่งเป็นรายวิชาบังคับจำนวน 2 รายวิชานั้น มีความคาดหวังก่อนเรียนของนักศึกษาผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 79.17 และเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 20.83 โดยรวมอยู่ในระดับคาดหวังมากที่สุด รายด้านอยู่ในระดับคาดหวังมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ย จากมากไปหาหาน้อย ดังนี้ ด้านคุณสมบัติผู้ช่วยสอน และด้านห้องปฏิบัติการและวิธีการสอน และจะเห็นว่าความพึงพอใจหลังเรียนของนักศึกษาผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 79.17 และเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 20.83 โดยรวมแล้วอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ส่วนรายด้านที่นักศึกษาพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านคุณสมบัติผู้ช่วยสอน และนักศึกษาพึงพอใจมาก คือ ด้านห้องปฏิบัติการและวิธีการสอนen_US
dc.description.sponsorshipคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherFaculty of Business Administration and Accountancy, Khon Kaen Universityen_US
dc.subjectการเรียนการสอนภาคปฏิบัติen_US
dc.subjectวิชาชีพด้านการโรงแรมen_US
dc.subjectการโรงแรมen_US
dc.subjectผู้ช่วยสอนen_US
dc.titleแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของผู้ช่วยสอนสู่มาตรฐานวิชาชีพด้านการโรงแรมen_US
dc.typeBooken_US
dc.email.authorarthisap@kku.ac.then_US
dc.skill.authorการจัดการธุรกิจบริการและการจัดงานen_US
dc.description.projectทุนสนับสนุนการวิจัยปีงบประมาณ 2561en_US
Appears in Collections:Hospitality and Event



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.